รายละเอียด:
ในบรรดาพระเครื่องชั้นนำของเมือง สุพรรณบุรี มักมีชื่อของ “พระขุนแผน” รวมอยู่ในพระกรุยอดนิยมต่างๆ จำนวนมาก หนึ่งในจำนวนนั้น คือพระขุนแผน กรุบ้านกร่าง เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพระกรุโบราณ มีอายุการสร้าง มาหลายร้อยปี กล่าวกันว่าความงดงามของพุทธศิลปะ นั้นโดดเด่นยิ่งนัก ส่วนพุทธคุณนั้น ก็เลิศล้ำเกินคำบรรยาย ทั้งเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ ตลอดจน คงกระพันชาตรี ยากที่จะหาพระพิมพ์ใดเสมอเหมือน จัดเป็นพระยอดนิยมชั้นแนวหน้าของวงการ มานาน
พระกรุวัดบ้านกร่าง พระดี พระดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี
วัดบ้านกร่าง อันเป็นแหล่งกำเนิด “พระขุนแผน กรุบ้านกร่าง” อัน เลื่องชื่อนี้ ตั้งอยู่ที่ ตำบล ศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน หรือ แม่น้ำสุพรรณบุรี ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้เป็นวัดโบราณ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเครื่อง กรุวัดบ้านกร่าง แตกกรุจากเจดีย์หลังพระวิหารเก่าในบริเวณ วัดบ้านกร่าง เมื่อราว พ.ศ. 2447 มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนที่พระแตกกรุออกมาใหม่ๆ พวกพระสงฆ์และชาวบ้าน ได้นำพระทั้งหมด มากมายหลายพิมพ์ มาวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้วิหาร เด็กวัดในสมัยนั้นได้นำ พระที่วางไว้มาเล่นร่อนแข่งขันกันในลำน้ำสุพรรณบุรี เป็นที่สนุกสนาน เนื่องจากว่า ในสมัยนั้น พระวัดบ้านกร่าง ยังไม่มีมูลค่า และ ความนิยมมากมายเหมือนดังเช่นปัจจุบัน
ที่มาแห่งชื่อ “พระขุนแผน”
ชื่อ ”พระขุนแผน” ทั้งของเมืองสุพรรณ หรือ ขุนแผน เมืองไหนก็ตาม เป็นการเรียกชื่อ พระของคนสมัยหลัง เพราะคนโบราณ สร้างพระพิมพ์ ไม่เคยพบหลักฐาน ว่ามีการตั้งชื่อพระเอาไว้ด้วย มีแต่คนรุ่นหลังที่ไปขุดพบพระพิมพ์เป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งสิ้น พระกรุวัดบ้านกร่าง ก็เช่นเดียวกัน เมื่อแตกกรุใหม่ๆ ก็ไม่มีชื่อ คนสุพรรณบุรี ยุคนั้นเรียกกันเพียงว่า “พระวัดบ้านกร่าง” คือถ้าเป็นพระองค์เดียวก็เรียก “พระบ้านกร่างเดี่ยว” ถ้าเป็นพระ 2 องค์คู่ติดกันก็เรียก “พระบ้านกร่างคู่” ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อให้เป็น พระขุนแผน บ้าง พระพลายเดี่ยว บ้าง พระพลายคู่ บ้าง ที่มาของชื่อ พระพิมพ์ ขุนแผน เหล่านี้ เชื่อว่าคนตั้งชื่อคงต้องการให้คล้องจองกลมกลืน กับตัวละครในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ที่โด่งดัง อันมีถิ่นกำเนิดในย่านสุพรรณบุรี คำว่า พระบ้านกร่าง จึงค่อยๆ เลือนหายไป หรืออีกนัยหนึ่ง ชื่อของ พระขุนแผน อาจได้มาจากการที่มีผู้บูชากราบไหว้ หรือ อาราธนานำติดตัวไปไว้ป้องกันอุบัติภัย ต่างๆ แล้วได้ประจักษ์ ความศักดิ์สิทธิ์ ในอำนาจพุทธคุณ ที่มี่คุณวิเศษ เหมือน ขุนแผนในวรรณคดี โดยเฉพาะ ด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยม อาจด้วยเหตุนี้ จึงเรียกขื่อว่า พระขุนแผนสืบมา
การจำแนกพิมพ์ทรงพระกรุวัดบ้านกร่าง
พระกรุวัดบ้านกร่าง เข้าใจว่ามีจำนวนถึง 84,000 องค์ตามคติการสร้าง พระพิมพ์ในสมัยโบราณ เมื่อพระแตกกรุขึ้นมาก็ได้มีผู้แยกแบบ แยกพิมพ์ต่างๆ ตามความแตกต่างของพุทธลักษณะ ซึ่งมีจำนวนกว่า 30 พิมพ์ขึ้นไป บางแบบ ก็เรียกว่า “พระขุนแผน” ซึ่งมีพิมพ์ยอดนิยม เช่น พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก พิมพ์ทรงพลใหญ่ พิมพ์ทรงพลเล็ก พิมพ์พระประธาน พิมพ์เถาวัลย์เลื้อย พิมพ์แขนอ่อน ฯลฯ บางแบบก็เรียกว่า “พระพลาย” อันหมายถึงลูกของขุนแผน ซึ่งมีทั้งที่พิมพ์เป็นคู่ติดกัน เรียกว่า “พระพลายคู่” และองค์เดี่ยวๆ เรียกว่า “พระพลายเดี่ยว” ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ยังแบ่งแยกออกไปอีกเป็นสิบๆ พิมพ์ เช่น พลายคู่หน้ายักษ์ หน้ามงคล หน้าฤาษี หน้าเทวดา พลายเดี่ยวพิมพ์ชะลูด พิมพ์ก้างปลา ฯลฯ
การที่คนรุ่นเก่า เลือกที่จะตั้งชื่อ พระพิมพ์นั้นว่า ขุนแผน พิมพ์นี้เรียกพลาย คนรุ่นใหม่ คงไม่ทราบหลักเกณฑ์ หรือ ที่มาชัด ซึ่งคงเดาใจว่า คนที่ตั้งชื่อ ขุนแผน คงจะดูรูปร่างศิลปะในองค์พระ ถ้าพระองค์ ใดมีรูปแบบศิลปะสวยงามสะดุดตา ก็เรียกว่า พระขุนแผน ไว้ก่อนส่วนพระพิมพ์ใดหย่อนคุณค่าทางด้านศิลปะความงาม ความอ่อนช้อยก็ตั้งชื่อเรียกว่า พระพลาย เพื่อให้แตกต่างกันไป…
อายุการสร้างของ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี เมื่อพิจารณาจากศิลปะแล้ว บอกให้รู้ว่าเป็น พระในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยมีศิลปะที่อ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ที่สำคัญที่สุด คือ ในจำนวนพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่างนี้ มีอยู่พิมพ์หนึ่งนั่นคือ “พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่” มีลักษณะและศิลปะเหมือนกับ “พระขุนแผนเคลือบ” ที่แตกกรุออกมาจากเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเจดีย์องค์นี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดาร ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2135 ตามคำทูลแนะนำของสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แห่งชัยชนะในการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แห่งพม่า พระเจดีย์องค์นี้ชื่อว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” เพราะเป็นเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา ซึ่งตามประเพณีมาแต่โบราณว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย
เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ถือกันว่าได้กุศลแรง พระขุนแผนเคลือบคงสร้าง เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคลในครั้งนั้น
ความคล้ายคลึงกันของพุทธศิลป์ ของ พระขุนแผน เคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล กับ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี โดยเฉพาะพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่นี้ เมื่อนำพระทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความแตกต่างกันน้อยมาก โดยเฉพาะเส้นสายและลวดลายการแกะของแม่พิมพ์ ทำให้น่าเชื่อว่า ช่างที่แกะสมัยนั้น คงเป็นคน คนเดียวกัน หรือ สกุลช่างศิลปะในสำนักเดียวกัน อายุการสร้างอาจไม่แตกต่างกันมากนัก หรืออาจแกะในคราวเดียวกัน และพิมพ์ในคราวเดียวกัน แต่ได้มีการแยกบรรจุเจดีย์ ต่างกัน ดังนั้น จึงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง คงมีอายุอยู่ในราวรัชกาล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ ประมาณ 400 ปีล่วงมาแล้ว
Phra Khun Paen BangKrang
Pim Nar Yip Pang MunWichai Nur Din
( Smiling Face )
Phra Khun Paen
BangKrang Pim Yai Plai KooNa
Tewada, strongly blessed at Wat
Bang Krang in year BE2512. Many
Top Monks joined the Grand
blessing included LP Mui, LP Pae
& AjahnNam. These Khun Paen were
beneath in Chedi and taken out
recently year. Featured Old Khun
Paen image and made from sacred
Holy powders with baked clay
materials and mixed with Kaolin
materials. Additional stunning
Clay Khun Paen image and temple
chop at back. This Twin Khun
Paen is very important amulet
and created for memory King
Naresuan the Great and King Phra
Ekatosarot.Wat Bang Krang,
temple of the oldest Phra Khun
Paen amulets in Thailand located
at Tambon Bankrang, Amphoe Si
Prachan, SuphanBuri province.
This temple is just next the
west bank of the Tha Chin river
and the old monastery was built
in the Ayutthaya era and is over
450 years old. The main
attraction is the clay baked of
Phra Khun Paen amulet and famous
among the collecters around the
world.
Wat Bang Krang ~
Powerful Big Twin Phra Khun Paen
BangKrang Black Skin Pim Yai
Plai KooNa Tewada With Silver
Coated Golden Casing BE 2492.
This is Powerful of Big Twin
Phra Khun Paen BangKrang Black
Skin Pim Yai Plai KooNa Tewada,
strongly blessed at Wat Bang
Krang in year BE2512. Many Top
Monks joined the Grand blessing
included LP Mui, LP Pae &
AjahnNam. These Khun Paen were
beneath in Chedi and taken out
recently year. Featured Old Khun
Paen image and made from sacred
Holy powders with baked clay
materials and mixed with Kaolin
materials. Additional stunning
Clay Khun Paen image and temple
chop at back. This Twin Khun
Paen is very important amulet
and created for memory King
Naresuan the Great and King Phra
Ekatosarot. Supplied Silver
Coated Golden Casing.Wat Bang
Krang, temple of the oldest Phra
Khun Paen amulets in Thailand
located at Tambon Bankrang,
Amphoe Si Prachan, SuphanBuri
province. This temple is just
next the west bank of the Tha
Chin river and the old monastery
was built in the Ayutthaya era
and is over 450 years old. The
main attraction is the clay
baked of Phra Khun Paen amulet
and famous among the collecters
around the world.
帕坤平佛牌的来历与演变- Phra KunPaen Wat
BangKrang
帕坤平瓦曼港佛牌,泰文叫พระขุนแผนวัดบ้านกร่าง,
英文叫 Phra KunPaen Wat BanKrang.
很多佛牌收藏家都有珍藏过帕坤平佛牌,老一辈的玩家也有人认为没收藏过一枚帕坤平瓦曼港是一辈子的遗憾。在这四百多年的历史和时代的演变,帕坤平佛牌款式也促渐改变。身为个佛牌爱好者除了收藏心爱的佛牌也不妨寻找它的历史,这种查证方式将令你更了解和爱护它。
根据历史和古代寓言记载:
坤平是个传奇人物,生在佛历1971至2071年之间或西历1428至1528年之间。
这闻名于世的暹罗与缅甸的白象战争在於佛历2126至2134年之间或西历1583至1591年之间。
根据瓦曼港庙里的通告板记载,坤平佛牌原产於佛历2135年或西历1592年,
至今西历2011已经419年了。
这是泰国文化局网站刊登的历史记载链接,
因为那场战争而让暹罗国家平静和荣华了150年。
根据历史和泰国史书里记载,为了纪念那叻素皇(King
Naresuan)於西历 25/01/1592
年在暹罗与缅甸的一场胜利的战争而启发了暹罗新纪元。
为了纪念为国殉猝的士兵和功臣,那叻素皇谕令瓦曼港督造了8万4千枚佛祖法相佛牌藏在舍利塔里以供后世敬仰和膜拜。还有为数不明的佛牌捐赠给当时还活着士兵和功臣以做奖励,受捐赠的人都会被平民待以无上光荣和仰慕。所以瓦曼港得谕令督造帕坤平佛牌并非为了纪念坤平是个传奇人物,而是为了当时殉猝的士兵和功臣所造。
在十五世纪末,人们还活着很朴实和单纯也没想到佛牌会演变成现在这么复杂。在那朝代里这批佛祖牌就像个官衔和身份的代表。虽然佛牌并没赐些什么名称,只是后来被人们用坤平这个传奇人物的名字来替代这无名的佛牌,这第一代帕坤平佛牌的名称就这样被流转下来。
为何叫帕坤平(Phra Khunpaen)呢?帕(Phra)这字是对圣贤和佛祖的尊称,
就像Phra Somdej Prabudhachan Toh,
Phra Buddha, Phra Pidta
等等。帕坤平的名称是代表当时在战场上的士兵勇猛得像坤平这个传奇人物一样。当时很多士兵受捐赠的佛牌都叫双喷(Song
Pon),双喷是军队的的意思。 有分两种类,帕坤平双喷呀(พระขุนแผนทรงพลใหญ่)和
帕坤平双喷叻(พระขุนแผนทรงพลเล็ก)。帕坤平还有很多种类和产于很多庙。有些产于比瓦曼港更早几百年的也叫帕坤平,如出塔的瓦帕咯佛塔(Kru
Wat Phra Roop),瓦拉查布拉纳佛塔(Kru Wat
Ratchaburana)和 瓦马哈踏佛塔 (Kru Wat
Mahathat)等等。
现在瓦曼港的舍利塔里已经没有了这些罕见的佛牌,全被挖掘或被盗。偶尔在古墓中还可发现这种类的佛祖牌当陪葬品以显示尊贵和荣耀。由于时代的改变,原本的帕坤平佛祖法相也起了变化,款式也千变万化和含意也有所改变。
以下这枚是出土的帕坤平双喷叻,是枚陪葬品,当初出土后由于潮湿而引发很难受的臭味,佛牌本身也因为长期埋没於地下而寒气非常重。可花了我
不少的九间古庙的圣水和数千篇Chinabhanchum经文的回向才得以净化。能量之强是我所有珍藏中排行五大之一。