Phra KunPaen Luang Poo Boon Wat Kland Bang Kaew
พระขุนแผนเนื้อผงยาจินดามณี ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว
( Smiling Face )
Name
of
the
image
of
Buddha: |
Phra Kun Paen
Luang
Poo
Boon |
Supporter
of
casting: |
Luang Poo Boon |
Location
of
Casting
or
Finding: |
Wat
Klang Bang Kaew |
Year
of
Casting: |
2443
BE |
Praise
of
the
image
of
Buddha: |
Harmproof
radiating
with
charm
and
bring
good
fortune |
Luang Pu Bun Khanthachot, Wat Klang Bang Kaeo, Nakhon Pathom Province. Luang Pu Bunchata on the 3rd day of the waxing moon of the 8th lunar month, Year of the Monkey, Chula Sakarat 1210, Samriddhisaka, dawn time close to light, corresponding to July 3, 1848, the 25th year of the reign of His Majesty the King. Phra Nang Klao Chao Yu Hua, King Rama III
Than Chata at Ban Tha Mai Subdistrict, Krathum Baen District, Samut Sakhon Province (at that time it was still Ban Miss Subdistrict, Talat Mai District, Mueang Nakhon Chai Si Nakhon Chai Si Province Later it was changed to Ban Tha Mai, Sam Phran District, Nakhon Pathom Province, but at present Tha Mai Subdistrict has transferred to Krathum Baen District, Samut Sakhon Province).
Luang Pu's father's name was "Seng" and his mother's name was "Lim". He had 6 brothers and sisters from the same mother and he was the first born. There are 5 brothers and sisters, in order as follows:
1. Mrs. Aem 2. Mrs. Bang 3. Mrs. Chan 4. Mr. Pan 5. Mr. Kong
The reason for the name "Boon"
When he was a baby, he became seriously ill and passed out. and finally unable to breathe His parents and relatives saw that he was dead and arranged to bury him. But it appears that it was not yet time to bury it. He regained consciousness and his parents took this as a reason and gave him the name "Boon".
Education and ordination
When Luang Pu was still in his youth Both of them moved their hometowns to farm in Bang Chang Subdistrict, Sam Phran District. When he was 13 years old, his father passed away. His aunt therefore entrusted him to study with Phra Palad Thong at Wat Klang, which at that time was called "Wat Kongkaram", Pak Nam Subdistrict (Pak Khlong Bang Kaeo), Nakhon Chai Si District. When he was 15 years old, Phra Palad Thong was fully grown. Therefore, he was ordained as a novice and taught various knowledge subjects. At that time, he served closely, making him beloved by Phra Palad Thong. But when he was close to being ordained He had to take leave due to illness.
Ordination
Luang Pu was ordained at the age of 22 at Phatthasima, Wat Klang Bang Kaeo. On Monday of the 8th lunar month, 15th day of the waxing moon, Year of the Snake, Chula Sakarat 1231, Ekasaka Phalai Bai, corresponding to the 21st of June, 1869, in the midst of a meeting of 30 monks, with Phra Palat Pan, abbot of Wat Phithaitharam (Wat Tukkata), as the preceptor. shortcut Thong, Abbot of Wat Klang Bang Kaeo Phra Athiksap Abbot of Wat Ngio Rai Phrakru Parimanurak Supraditthanram Temple and the bishop arrested Abbot of Wat Tha Mon Let's work together to give refuge and morality. and chanting karma words. Furthermore, the fact that there were 4 monks participating in the ceremony like this is because these elder monks are respected. of the adults who host the ordination ceremony Then his preceptor gave him the nickname "Khanthachoti" and had him spend the rainy season with Phra Palad Thong. At Wat Klang Bang Kaeo
Legal and practical studies
Luang Pu Bun has already received a good foundation in Dhamma. Since being a temple boy and a novice During the said period of approximately 5-6 years, he spent time serving Phra Palad Thong. Therefore there is no doubt that His foundations in Dhamma were all passed down to him by Phra Palad Thong. Another teacher of his was Phra Palad Pan, the abbot of Wat Tukkata, from the testimony of Phrakhru Thammawichan (Chum), the abbot of Wat Srisudaram (Wat Chee Pa Khao), Bangkok Noi, who once said: Luang Pu Bun studied meditation and magic with Palad Pan. In fact, it is the teacher who imparts Dhamma knowledge. Both the Pariyat and the practice as well as the Vedas. And there are many other forms of Buddha's wisdom given to you. But will be discussed next.
Monastic titles and positions
In the year 1886 he was appointed as the Rector of Wat Klang Bang Kaeo.
In the year 1888 he was appointed as a monk.
In the year 1890 he was appointed as the head monk.
In the year 1916, on August 27, he was appointed as a preceptor. Four months later, on December 30, in the same era, he received the royal title of Phrakhru with the royal title. "Phrakhru Uttarakabadi" and raised to be the provincial abbot
On December 30, 1919, he was graciously granted a promotion to Phrakhru Sanyabat. "Phrakhru Buddhawithi Nayok" and appointed to hold the position of Chairman of the Sangha Committee of Nakhon Pathom Province and Suphanburi Province.
In the year 1928, His Majesty graciously promoted him to the rank of ordinary prelate with the royal title. "Phuttawithi Nayok"
The life history of Luang Pu Bun mentioned here. It is only a small part of your whole. Because if we were to actually write it It must be very long. In addition, many writers have described it correctly and well, so the writer has left it out. Not mentioned again
Kindness
Normally, Luang Pu is a monk who is very kind and compassionate to all people. He constantly supported the monks of the temple as well as his disciples and supported the villagers. throughout your lifespan This is due to your innate nature that He has a charitable heart and has rejected sinful actions since childhood.
Release all fish
When Luang Pu was a small child Live with both of you. It has a strange appearance than all children. I refuse to kill animals. and doesn't like catching animals to play with Suffering like other children The two people whose occupations were farming While free from work, he goes fishing in various swamps. to make food for consumption like all farmers and both of them often took him with them. because you are the firstborn They assigned him to carry the fish he had caught. At first, he refused to go with him. He was scolded and scolded him, so he gave up and had to go with him. One day he caught a lot of fish. They were all happy to have released many fish. When he returned home he prepared to bring fish to cook. When I opened it up, it appeared that There wasn't even a single fish involved.
When asked, he said that all the fish had been released along the way. It was said that on that day There was hardly any food to eat in the whole house. Yom was very angry with him and did not punish him and beat him severely. After that came He did not take him to fish again. and he became a depressed and lonely child Tired of living a mundane life
Luang Pu once told those close to him that he had
SWIFT CODE KASITHBK
KASIKORN BANK CO.,LTD
SARAPHI DISTRICT CHIANGMAI TH
Mr.Phusawasdi Sukliang Kasikorn Bank saving account sarapli 286-2-37703-9
Saraphi District ,Chiangmai Thailand 50140 TEL 66-53-963029 66-093-3361-995
พระขุนแผน หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ
รหัสสินค้า: 228
Price: 300,000.00 baht
หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
หลวงปู่บุญชาตะเมื่อวันจันทร์ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๑๐ สัมฤทธิศก เวลาย่ำรุ่งใกล้สว่าง ตรงกับวันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๙๑ อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ท่านชาตะ ณ บ้านตำบลท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (ในครั้งนั้นยังเป็นตำบลบ้านนางสาว อ.ตลาดใหม่ เมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นบ้านท่าไม้ อ.สามพราน จ.นครปฐม แต่ปัจจุบันนี้ ต.ท่าไม้ ได้โอนไปขึ้นกับ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร)
โยมบิดาของหลวงปู่มีนามว่า "เส็ง" โยมมารดามีนามว่า "ลิ้ม" ท่านมี พี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๖ คน โดยตัวท่านเป็นคนหัวปี มีน้องชายหญิง ๕ คน ลำดับดังนี้
๑. นางเอม ๒. นางบาง ๓. นางจัน ๔. นายปาน ๕. นายคง
เหตุแห่งมีนามว่า "บุญ"
เมื่อวัยทารก ท่านมีอาการป่วยหนักถึงแก่สลบไป และไม่หายใจในที่สุด บิดามารดาและญาติ เมื่อเห็นว่า ท่านตายเสียแล้วจึงจัดแจงจะเอาท่านไปฝัง แต่ปรากฏว่ายังไม่ทันที่จะได้ฝัง ท่านก็กลับฟื้นขึ้นมา บิดามารดา ได้ถือเอาเหตุนี้ตั้งชื่อให้แก่ท่านว่า "บุญ"
การศึกษาและบรรพชา
เมื่อครั้งที่หลวงปู่ยังอยู่ในวัยเยาว์นั้น โยมทั้งสองได้ย้ายภูมิลำเนามาทำนาที่ตำบลบางช้าง อ.สามพราน เมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ปี โยมบิดาได้ถึงแก่กรรม โยมป้าของท่านจึงนำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับ พระปลัดทอง ณ วัดกลาง ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อว่า "วัดคงคาราม" ต.ปากน้ำ (ปากคลองบางแก้ว) อ.นครชัยศรี เมื่อท่าน อายุได้ ๑๕ ปีเต็มพระปลัดทองจึงทำการบรรพชาให้เป็นสามเณรและได้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ต่างๆ ให้ เมื่อครั้งนั้นท่านได้รับใช้อย่างใกล้ชิดจึงทำให้เป็นที่รักใคร่ของพระปลัดทอง แต่เมื่อมีอายุได้ใกล้อุปสมบท ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาเนื่องด้วยความป่วยไข้เบียดเบียน
อุปสมบท
หลวงปู่อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันจันทร์เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๓๑ เอกศก เพลาบ่าย ตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๒ ในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ ๓๐ รูป โดยมี พระปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดพิไทยทาราม (วัดตุ๊กตา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดทอง เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พระอธิการทรัพย์ เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย พระครูปริมานุรักษ์ วัดสุประดิษฐานราม และพระอธิการจับ เจ้าอาวาสวัดท่ามอญ ร่วมกันให้สรณาคมณ์กับศีล และสวดกรรมวาจา อนึ่ง การที่มีพระอาจารย์ร่วมพิธีถึง ๔ รูปเช่นนี้ ก็เพราะพระเถระเหล่านี้เป็นที่เคารพนับถือ ของผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้าภาพอุปสมบท แล้วพระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า "ขนฺธโชติ" แล้วให้จำพรรษาอยู่กับพระปลัดทอง ที่วัดกลางบางแก้ว
การศึกษาทางปริยัติและปฏิบัติ
หลวงปู่บุญได้รับการวางพื้นฐานในทางธรรมมาอย่างดีแล้ว ตั้งแต่เป็นเด็กวัดและสามเณร ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวประมาณ ๕-๖ ปี ที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระปลัดทอง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า พื้นฐานในทางธรรมของท่านถูกถ่ายทอดมาโดยพระปลัดทองทั้งสิ้น อาจารย์อีกรูปหนึ่งของท่านก็คือ พระปลัดปาน เจ้าอาวาส วัดตุ๊กตา ซึ่งจากปากคำของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) บางกอกน้อย เคยกล่าวไว้ว่า หลวงปู่บุญได้เล่าเรียนกรรมฐานและอาคมกับท่านปลัดปาน อันที่จริงนั้นอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางธรรม ทั้งปริยัติและปฏิบัติตลอดจนพระเวท และพุทธาคมให้แก่ท่านยังมีอีกหลายรูป แต่จะกล่าวถึงในถัดไป
สมณศักดิ์และตำแหน่ง
ในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอธิการปกครองวัดกลางบางแก้ว
ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์ ต่อมาอีก ๔ เดือน คือวันที่ ๓๐ ธันวาคม ศกเดียวกันก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูมีราชทินนามว่า "พระครูอุตรการบดี" และยกให้เป็นเจ้าคณะแขวง
เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ ก็ได้รับพระกรุณาโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูพุทธวิถีนายก" และให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม และ จังหวัดสุพรรณบุรี
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะสามัญในราชทินนามที่ "พระพุทธวิถีนายก"
ประวัติชีวิตหลวงปู่บุญที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนย่อยในทั้งหมดของท่าน เพราะหากจะนำมาเขียนกันจริงๆ คงต้องยืดยาวมาก อีกทั้งได้มีนักเขียนหลายท่านพรรณนาไว้อย่างถูกต้องดีแล้วผู้เขียนจึงเว้นไว้เสีย ไม่นำมากล่าวถึงอีก
เมตตาธรรม
ปกติหลวงปู่เป็นพระที่มีความเมตตากรุณาแก่บุคคลทั้งหลายเป็นอันมาก ได้อุปการะพระลูกวัดตลอดจน สานุศิษย์ และเกื้อกูลชาวบ้านอยู่เป็นนิจ ตลอดอายุขัยของท่าน ทั้งนี้เกิดจากเป็นนิสัยโดยกำเนิดของท่านที่ เป็นผู้มีใจเป็นบุญกุศลและปฏิเสธการกระทำอันเป็นบาปมาตั้งแต่เยาว์วัยแล้ว
ปล่อยปลาหมดข้อง
สมัยเมื่อหลวงปู่ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่กับโยมทั้งสอง ก็มีลักษณะแปลกกว่าเด็กทั้งหลายคือ ไม่ยอมฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และไม่ชอบการจับเอาสัตว์มาเล่น ทรมานเหมือนเด็กอื่นๆ โยมทั้งสองซึ่งมีอาชีพในการทำนานั้น ขณะว่างจากงานก็จะเที่ยวหาปลาตามหนองน้ำต่างๆ เพื่อมาทำอาหารบริโภคเช่นเดียวกับชาวนาทั้งหลาย และโยมทั้งสองก็มักจะเอาท่านไปด้วย เพราะท่านเป็นบุตรคนหัวปี โดยมอบหมายให้ท่านสะพายข้องใส่ปลาที่จับได้ ตอนแรกๆ ท่านไม่ยอมไปด้วย ก็ถูกโยมดุว่า ท่านจึงจนใจ ต้องสะพานย่ามติดตามโยมไปด้วย ในวันหนึ่งโยมจับปลาได้มาก ต่างก็พากันดีใจปลดปลาใส่ข้องได้หลายตัว ครั้นกลับมาถึงบ้านเตรียมนำเอาปลามาทำอาหาร พอเปิดข้องออกดูปรากฏว่า ไม่มีปลาในข้องเลยแม้แต่ตัวเดียว
เมื่อโยมถาม ท่านก็บอกว่าเอาปลาปล่อยไปตามทางหมดแล้ว เป็นอันว่าในวันนั้น แทบจะไม่มีกับข้าวรับประทานกันทั้งบ้าน โยมโกรธท่านมากและไม่ลงโทษเฆี่ยนตีท่านอย่างรุนแรง หลังจากนั้นมา โยมก็มิได้เอาท่านไปหาปลาอีกเลย และท่านก็ได้กลายเป็นเด็กที่ซึมเซาเหงาหงอย เบื่อความมีชีวิตอย่างโลกๆ
หลวงปู่เคยเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ท่านมีควา